ไฟเกษตรคืออะไร ?

ไฟเกษตร คำๆนี้อาจจะคุ้นหูคุ้นตากันอยู่บ่อย แต่หลายๆคนก็ยังไม่ทราบว่าคืออะไร? วันนี้โซล่า4 จะพาทุกคนไปรู้จักกับไฟเกษตรกัน

ไฟเกษตร คือ การนำไฟฟ้าาเพิ่อทำการเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ ใช้จ่ายน้ำ จ่ายไฟ หลอดไฟต่างๆ ในสวน นา เป็นต้น แต่การจะะได้ไฟเกษตรนั้น จะต้องผ่านเกณฑ์และคุณสมบัติที่โครงการกำหนดไว้ด้วย โดยหลักเกณฑ์มีดังนี้

1. ต้องตรวจสอบว่าพื้นที่ที่จะขอใช้ไฟไม่ได้เป็นพื้นที่หวงห้ามจากราชการ เพื่อที่จะได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ

2. เส้นทางต้องเป็นสาธารณะและสามารถวิิ่งสัญจรผ่านได้อย่างสะดวก

3. จุดที่ขอใช้ไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงได้จากระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสาย

4. ได้รับการรับรองด้านขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ

5. จุดที่ขอใช้ไฟจะต้องระบุแหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิตทางการเกษตรให้ชัดเจน

6. ต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดินทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร และที่ดินจะต้องไม่ถูกถือครองโดยเอกชนรายใหญ่

7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ต่อ 1 ราย ซึ่งมีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • ติดตั้ง 5(15) แอมป์ ราคา 1,000 บาท
  • ติดตั้ง 15(45) แอมป์ 1 เฟส ราคา 6,450 บาท
  • ติดตั้ง 15(45) แอมป์ 3 เฟส ราคา 21,350 บาท

8. ทั้งมิเตอร์เก่าและใหม่ต้องอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าเดียวกัน และต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าของมิเตอร์ใหม่ โดยแจ้งเก็บเงินที่มิเตอร์เก่าได้

9. ค่าใช้จ่ายในการขยายเขตต่อรายเฉลี่ยไม่เกิน 50,000 บาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

เอกสารที่ต้องเตรียม

1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. สำเนาโฉนดที่ดิน
4. เอกสารรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น